เมนู

[322] อนุสสติฐาน 6


1. พุทธานุสสติ การระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
2. ธัมมานุสสติ การระลึกถึงคุณของพระธรรม
3. สังฆานุสสติ การระลึกถึงคุณของพระสงฆ์
4. สีลานุสสติ การระลึกถึงศีล.
5. จาคานุสสติ การระลึกถึงการสละ
6. เทวตานุสสติ การระลึกถึงเทวดา.

[323] สตตวิหาร คือธรรมเครื่องอยู่ของพระขีณาสพ 6


1. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูป
ด้วยจักษุแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติ และ
สัมปชัญญะอยู่.
2. ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว. . .
3. ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว...
4. ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว...
5. ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว...
6. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว. ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ แต่เป็น
ผู้วางเฉย มีสติและสัมปชัญญะอยู่.

[324] อภิชาติ 6


1. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางตนในโลกนี้ เกิดในที่ดำ
ประสบธรรมฝ่ายดำ.

2. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ดำ
ประสบธรรมฝ่ายขาว.
3. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ดำ
ประสบพระนิพพานซึ่งเป็นธรรมไม่ดำ ไม่ขาว.
4. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่
ขาว ประสบธรรมฝ่ายขาว.
5. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่
ขาว ประสบธรรมฝ่ายดำ.
6. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่
ขาว ประสบพระนิพพานซึ่งเป็นฝ่ายไม่ดำ ไม่ขาว.

[325] นิพเพธภาคิยสัญญา 6


1. อนิจจสัญญา กำหนดหมายในสังขารว่าเป็นของไม่
เที่ยง
2. อนิจเจ ทุกขสัญญา กำหนดหมาย ในสิ่งไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์
3. ทุกเข อนัตตสัญญา กำหนดหมาย ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็น
อนัตตา
4. ปหานสัญญา กำหนดหมายในการละ
5. วิราคสัญญา กำหนดหมายในการคลายกำหนัด
6. นิโรธสัญญา กำหนดหมายในการดับ.